เมนู

ภารวรรคที่ 3



1. ภารสูตร



ว่าด้วยขันธ์ 5 เป็นภาระ



[49] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ การถือภาระ และการวางภาระ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่า ภาระ คืออุปาทาน
ขันธ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป อุปาทานขันธ์
คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร และ
อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
[50] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่า
บุคคลบุคคลนี้นั้น คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ.
[51] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การถือภาระเป็นไฉน ตัณหานี้ใด
นำให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือภาระ.

[52] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน ความที่
ตัณหานั่นแล ดับไปด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน
ความพ้น ความไม่อาลัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการวางภาระ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้
จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
[53] ขันธ์ 5 ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล การถือ
ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข
บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อมทั้ง
มูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.

จบ ภารสูตรที่ 1

อรรถกถาภารวรรคที่ 3



อรรถกถาภารสูตรที่ 1



ภารวรรค ภารสูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ปญฺจุปาทานกฺขนฺ-
ธาติสฺส วจนียํ
ตัดเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺขา อิติ อสฺส วจนียํ ความว่า
เป็นข้อที่จะพึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภาโร ความว่า
อุปาทานขันธ์ 5 ท่านกล่าวว่าเป็นภาระ. ถามว่า ด้วยอรรถว่ากระไร?
แก้ว่า ด้วยอรรถว่าเป็นภาระที่จะต้องบริหาร. จริงอยู่ อุปาทานขันธ์ 5
เหล่านั้น จำต้องบริหารด้วยการให้ยืน ให้เดิน ให้นั่ง ให้นอน ให้อาบน้ำ
แต่งตัว ให้เคี้ยว ให้กิน เป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นภาระ(ของหนัก) เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ภาระเพราะอรรถว่าเป็นภาระจะต้องบริหาร.